วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เรื่องของบาปกว้างกว่าศีล เจตนาชนิดไหนคือกรรม

บทความนี้เหมือนคราวที่แล้ว คือ แสดงความคิดเห็นตอบชาวบ้าน แล้วก็เลยก้อปมาใส่บล็อกด้วย
ฉะนั้น ถ้าใครอ่านแล้วรู้สึกไม่ค่อยเท้าความที่มาที่ไปเท่าไหร่ ก็ขออภัย อิอิ : )
ขี้เกียจเรียบเรียงใหม่น่ะ

บาป หมายถึง อกุศลที่ส่งให้ถึงความเดือดร้อน หรือสิ่งที่ทำให้จิตเสียคุณภาพ
ดังนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องผิดศีลก็บาปได้ โกรธก็บาป รำคาญก็บาป
เพลินกับละครตอนค่ำก็บาป ยินดีกับการทะเลาะกันก็บาป
แต่ที่ใช้กันในภาษาไทย ถ้าใช้คำว่าอกุศลแทนจะเข้าใจได้ง่ายกว่า

กรรม หมายถึง การกระทำทางกาย หรือวาจา หรือใจ ที่ประกอบด้วยเจตนา
ถ้าไม่มีเจตนาไม่ถือว่าเป็นกรรม

เจตนา หมายถึง การเลือกจับอารมณ์ของใจ สมมุติบนโต๊ะมีของหลากหลายชนิด
เช่น ของกิน เครื่องสำอางค์ ซีดีเพลง รูปถ่ายดาราดัง ฯลฯ
เรากวาดตาไปปุ๊บ สายตาเราสะดุดจุดไหน แช่ตรงไหน คิดปรุงแต่งอย่างไร
กระบวนการตรงนี้ประกอบไปด้วยเจตนามากมาย

ควรระวังว่า การเลือกจับอารมณ์ของใจ กับความคิดนึกของเรา
อาจไม่เหมือนกัน

เช่น
มีเจตนาบาป แต่คิดว่าเจตนาดี เหมือนจับเหล็กร้อนเต็มมือ เพราะนึกว่าไม่ร้อน
มีเจตนาบาป อย่างรู้แต่ยังทำ เหมือนจับเหล็กร้อนโดยที่รู้มาก่อนว่ามันร้อน

ยกตัวอย่างเช่น ชวนเพื่อนดื่มเหล้า ในใจนึกว่าเหล้าเป็นสิ่งดี เรากำลังทำสิ่งดีอยู่
ด้วยการช่วยเพื่อนให้รู้จักของดี ใจมีสุขภูมิใจ แต่เป็นสุขที่มากับโมหะ

เจตนาคือ จิตจับเอาการชวนเพื่อนดื่มเหล้า เป็นอารมณ์ = จงใจทำบาป
เจตนาคือ จิตจับเอาความยินดีที่ทำสำเร็จ เป็นอารมณ์ = ยินดีในบาป
เจตนาคือ จิตจับเอาความหวังดีต่อเพื่อน เป็นอารมณ์ = เป็นบุญ
เจตนาคือ จิตจับความยินดีที่เพื่อนได้ดี เป็นอารมณ์ = เป็นบุญ

ตอนทำนี้ เจตนาคงสลับกันไปมารวดเร็ว แต่ที่ยืนโรงเป็นหลักน่าจะอันแรกนะ?
หมายเหตุ เป็นการแยกคร่าวๆ ตาม "ความเข้าใจส่วนตัว" โปรดใช้วิจารณญาณ
---------------------------------------------


ขับรถหลับในชนคนตาย

ตอนขับ ถ้าง่วง นึกรู้ว่าขับไปมีสิทธิสูงที่จะเกิดอุบัติเหตุ แต่จงใจขับทั้งอย่างนั้น
หนึ่งประมาท สองมีเจตนาร่วมนิดๆ ที่จะยอมเสี่ยงชีวิตตัวเองกับชาวบ้าน
ถึงจะปลอบใจตัวเองว่า "ไม่เกิดอุบัติเหตุหรอก แค่นี้เอง" ก็เถอะ

เปรียบว่า เราอยู่บนตึก ข้างล่างมีคนเยอะ เราโยนหินลงไป
ในใจไม่ได้ตั้งใจวางแผนจะให้โดนหัวใคร แต่ก็กึ่งๆ รับรู้ว่ามีสิทธิโดนหัวชาวบ้าน
ดังนั้นจะเรียกว่า เจตนาบริสุทธิ์เลยคงไม่ได้

แต่ถ้าข้างล่างไม่มีคนเลย เราโยนหินลงไป ไม่ได้นึกจะให้โดนหัวใคร
ทั้งแน่ใจว่าไม่เสี่ยงจะโดนหัวใคร อย่างนี้เรียกว่าไม่มีเจตนาทำร้าย


ถ้าตอนขับ สติยังดีๆ อยู่  ขับๆ วูบหลับไปเองไม่ทันตั้งตัว
บังเอิญไปชนใครตาย ถือว่าไม่มีเจตนา ไม่เป็นกรรมในการฆ่าใคร
---------------------------------------

กระโดดเข้ารถBTS ที่กำลังจะปิด

ถ้าใจรู้ว่ามีสิทธิเสี่ยงก่อความเดือดร้อนให้ตัวเองและคนอื่น
เพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุ ตัวเองเจ็บ ผู้โดยสารช้า จนท เหนื่อย บจก เสียหาย
แต่ก็จงใจให้ใครๆ ที่ว่ารวมตัวเองด้วย ร่วมเสี่ยงไปกับการกระทำนั้น

เจตนาแล้ว บาปแล้ว

แต่ถ้าในใจรู้ชัดว่า ทันแหงๆ ไม่ได้เสี่ยงไม่ได้ทำให้ใครเสียหายเลย
เว้นแต่คนเห็น อาจมีบางคนอาจจะตกใจเกินเหตุเองซึ่งช่วยไม่ได้
อย่างนี้ก็ไม่มีเจตนาที่จะเบียดเบียนใคร
------------------------------------------------


เคยอ่านพระท่านว่า
คนเราไม่รู้ไปหมดทุกอย่าง ว่าเหตุการณ์ไหนจะทำอะไรจึงจะถูกต้อง
ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท จึงควรถือหลักว่า

ขณะที่ตัดสินใจจะเลือกทำข้อไหนนั้น ให้อยู่ในสภาพปัญญาดีที่สุด เจตนาดีที่สุด
ปัญญาดีที่สุด คือคิดถี่ถ้วน หาข้อมูลอะไรๆ เท่าที่จะทำได้แล้วในตอนนั้น
เจตนาดีที่สุด คือมีจุดประสงค์ที่ทำเพื่อประโยชน์ ไม่หวังโทษแก่ใคร

จากนั้นก็ทำไปอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พระอานนท์กับการสังคายนาพระไตรปิฏก

ไม่ได้อัพบล็อกเสียนานเพราะขี้เกียจ
พอดีพิมพ์อันนี้ตอบคนหนึ่ง รู้สึกว่าไหนๆ ก็พิมพ์ยาว เลยเอามาใส่ที่นี่ด้วยจะได้คุ้มค่า อิอิ : )


พระอานนท์เถระ เป็นพระอุปัฏฐาก มีหน้าที่ติดตามรับใช้ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า
ก่อนจะรับหน้าที่ได้ทูลขอ อนุญาตต่อพระองค์ไว้ว่า

ถ้าพระพุทธองค์ได้แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องใด
เมื่อกลับมาโปรดแสดงพระธรรมเทศนานั้นแก่พระอานนท์อีกครั้ง
เพื่อป้องกันคนติ ฉินว่า ตนติดตามพระองค์ดุจเงาตามตัว เหตุใดเรื่องที่ตรัสก็ไม่รู้

พระพุทธเจ้าก็ประทานอนุญาต


พระพุทธเจ้าสมัยทรงพระชนมชีพอยู่
ทรงตรัสสอนพระธรรม บัญญัติพระวินัยไว้จำนวนมาก
พระอานนท์ซึ่งติดสอยห้อย ตามพระองค์ กล่าวได้ว่าได้ยินมามากที่สุด

หรือต่อให้ได้รับนิมนต์ไป แสดงเทศนาที่ซึ่งพระอานนท์มิได้ตามเสด็จ
เมื่อกลับที่ประทับก็จะถ่ายทอด ซ้ำแก่พระอานนท์ทุกครั้ง ตามที่ทรงให้คำมั่น


พระอานนท์จึงเปรียบ เหมือนคลังเก็บพระธรรมเทศนาที่มีชีวิต
ท่านได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า
เป็นเลิศด้านความเป็นพหูสูตร เป็นเลิศด้านสติ ในบรรดาภิกษุทั้งหลาย

(นอกจากนั้น ความจำของคนในสมัยนั้นกล่าวได้ว่าดีกว่าคนสมัยนี้มาก
การฟังบทเทศนายาวๆ แล้วเอาไปพูดต่อแบบเป๊ะๆ คำต่อคำ นี้ธรรมดามาก
พระอานนท์ที่เป็นเลิศด้าน สติระลึกรู้ด้วย ยิ่งไม่ต้องพูดถึง)
----------------------------------------------------------

หลังจากที่ทรงดับขันธ์ปรินิพพานเพียง 7 วัน
พระมหากัสสปะเห็นภิกษุบวชตอนแก่ รูปหนึ่ง แสดงความดีใจต่อข่าวปรินิพพาน
บอกว่าต่อไปใครจะทำอะไรก็ได้ (คงว่าไม่มีพระพุทธเจ้าอยู่คอยห้ามหรือชี้ขาด)
เป็นสัญญาณอันตรายต่อพระ ศาสนา

ความที่ท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่สุดในขณะนั้น จึงดำเนินการชักชวนว่า
อย่ากระนั้นเลย พวกเรามารวบรวมคำสั่งสอนของพระศาสดาเก็บไว้ดีกว่า
จะได้ช่วยกันจำ ว่านี่เป็นธรรม นี่เป็นวินัยที่ทรงตรัส
เพื่อให้เป็นหลักแก่ชาวพุทธสืบ ไป


เมื่อภิกษุทั้งหลายเห็นชอบ
และมีมติมอบหมายให้พระมหากัส สปะเลือกคนมาทำหน้าที่ร่วมสังคายนา
เล่ารวบรัดว่า ท่านก็ได้คัดเลือกเฉพาะพระอรหันต์ชนิดที่มีคุณสมบัติเป็นเลิศ
คือทั้ง เชี่ยวชาญปริยัติปฏิบัติ แตกฉานทั้งวิชชาทั้งฤทธิ์
และโดยมากได้รับการ ยกย่องว่าเป็นเลิศทางใดทางหนึ่งจากพระพุทธองค์มาก่อน

ตอนแรกเลือกมา ได้ 499 รูป เว้นว่างไว้ตำแหน่งหนึ่ง
เพื่อรอพระอานนท์สำเร็จพระอรหันต์ เสียก่อน
ชื่อทั้งหมดก็ถูกลงมติโดยที่ประชุมสงฆ์อีกที
ว่ายอมรับร่วม กันเป็นเอกฉันท์ให้เป็นหนึ่งในองค์ร่วมสังคายนาหรือไม่



หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน
งานสังคายนาพระธรรมวินัยที่พระองค์เคย ตรัสก็เริ่มขึ้น
(พระอานนท์เป็นพระอรหันต์แล้ว)

พระมหากัสสปะเป็นองค์ประธานในที่ประชุม และเป็นผู้ซักถาม
พระอานนท์รับหน้าที่ตอบ ส่วนที่เป็นพระธรรมคำตรัสสอน
พระอุบาลีที่พระพุทธองค์ยกให้เป็นเลิศด้าน พระวินัย ก็รับหน้าที่ตอบพระวินัย

ลักษณะจะเป็นทำนองนี้ว่า

พระมหากัสสปะ "สงฆ์ในที่ประชุมถ้าพร้อมแล้วจงฟัง ข้าฯจะขอถามพระอานนท์"
พระอานนท์ "สงฆ์ในที่ประชุมถ้าพร้อมแล้วจงฟัง ข้าฯจะตอบคำถาม"

แล้วคำถามตอบก็เช่น พระสูตรนี้ๆ ทรงตรัสที่ไหนกับใครเมื่อไร
ตรัสว่าอย่างไร บ้าง พระอานนท์ก็ตอบไปทีละคำถาม

ระหว่างนั้น พระอรหันต์ที่เป็นองค์ประชุมที่เหลือทั้งหมด ก็นั่งฟังไปๆ
พอถามตอบกัน เสร็จ องค์ประชุมทั้งหลายไม่มีใครข้องใจ
ก็เป็นอันว่าเรื่องนั้นๆ ผ่าน


พอทำอย่างนี้ก็เสร็จ ก็มาเรียบเรียงกันว่าพระสูตรอันนั้นรวมหมวดกับอันนั้น
แบ่ง เป็นกี่หมวดๆ พระวินัยแยกเป็นโทษหนักหมวดหนึ่ง โทษกลางๆ หมวดหนึ่ง
อะไรทำนองนี้

พอประชุมสังคายนา ที่แปลว่ารวบรวมคำสอน (ไม่ได้แต่งเองหรือแก้คำสอน)
เสร็จแล้ว ต่อไปก็แบ่งหน้าที่กันทรงจำพระธรรมวินัยที่สังคายนาแล้วนี้

เช่นให้ หมู่หนึ่งทรงจำรักษาบทหนึ่ง อีกหมู่หนึ่งทรงจำรักษาอีกบทเป็นต้น
วิธีทรงจำตอนนั้นได้แก่การท่องจำพร้อมกัน หรือคือการสวดพร้อมกันทั้งเช้าเย็น

หมู่ นั้นมีพระภิกษุร้อยรูปพันรูปก็สวดพร้อมกันอย่างนั้นๆ ทุกวันๆ

สมมติ หมู่หนึ่ง หมู่สอง แยกกันอยู่แยกกันสวดคนละเมือง แต่สวดบทเดียวกัน
พอมาพบกันก็สวดพร้อมๆ กัน ทั้งสองหมู่
ถ้าสวดพร้อมเพรียงกันดีแสดงว่าทั้ง สองหมู่จำมาได้เหมือนๆ กัน
พระธรรมวินัยก็ถูกรักษาส่งต่อกันมารุ่นต่อ รุ่นด้วยวิธีนี้
-------------------------------------------------

ต่อมาภายหลัง มีการบันทึกลงหนังสือบ้างอะไรบ้าง
การสวดท่องจำจึงลดความ สำคัญไป

ต่อมาภายหลัง การสังคายนาจึงเป็นการเอาพระไตรปิฎกของแต่ละประเทศ
มาเทียบกันที่ละตัวๆ ว่าเหมือนกันหรือต่างกันแค่ไหน
เป็นที่น่ายินดีว่า แม้ต่างฝ่ายต่างรักษา แต่ข้อความก็ตรงกันเป๊ะแทบร้อยเปอร์เซนต์