วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พระอานนท์กับการสังคายนาพระไตรปิฏก

ไม่ได้อัพบล็อกเสียนานเพราะขี้เกียจ
พอดีพิมพ์อันนี้ตอบคนหนึ่ง รู้สึกว่าไหนๆ ก็พิมพ์ยาว เลยเอามาใส่ที่นี่ด้วยจะได้คุ้มค่า อิอิ : )


พระอานนท์เถระ เป็นพระอุปัฏฐาก มีหน้าที่ติดตามรับใช้ใกล้ชิดพระพุทธเจ้า
ก่อนจะรับหน้าที่ได้ทูลขอ อนุญาตต่อพระองค์ไว้ว่า

ถ้าพระพุทธองค์ได้แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องใด
เมื่อกลับมาโปรดแสดงพระธรรมเทศนานั้นแก่พระอานนท์อีกครั้ง
เพื่อป้องกันคนติ ฉินว่า ตนติดตามพระองค์ดุจเงาตามตัว เหตุใดเรื่องที่ตรัสก็ไม่รู้

พระพุทธเจ้าก็ประทานอนุญาต


พระพุทธเจ้าสมัยทรงพระชนมชีพอยู่
ทรงตรัสสอนพระธรรม บัญญัติพระวินัยไว้จำนวนมาก
พระอานนท์ซึ่งติดสอยห้อย ตามพระองค์ กล่าวได้ว่าได้ยินมามากที่สุด

หรือต่อให้ได้รับนิมนต์ไป แสดงเทศนาที่ซึ่งพระอานนท์มิได้ตามเสด็จ
เมื่อกลับที่ประทับก็จะถ่ายทอด ซ้ำแก่พระอานนท์ทุกครั้ง ตามที่ทรงให้คำมั่น


พระอานนท์จึงเปรียบ เหมือนคลังเก็บพระธรรมเทศนาที่มีชีวิต
ท่านได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า
เป็นเลิศด้านความเป็นพหูสูตร เป็นเลิศด้านสติ ในบรรดาภิกษุทั้งหลาย

(นอกจากนั้น ความจำของคนในสมัยนั้นกล่าวได้ว่าดีกว่าคนสมัยนี้มาก
การฟังบทเทศนายาวๆ แล้วเอาไปพูดต่อแบบเป๊ะๆ คำต่อคำ นี้ธรรมดามาก
พระอานนท์ที่เป็นเลิศด้าน สติระลึกรู้ด้วย ยิ่งไม่ต้องพูดถึง)
----------------------------------------------------------

หลังจากที่ทรงดับขันธ์ปรินิพพานเพียง 7 วัน
พระมหากัสสปะเห็นภิกษุบวชตอนแก่ รูปหนึ่ง แสดงความดีใจต่อข่าวปรินิพพาน
บอกว่าต่อไปใครจะทำอะไรก็ได้ (คงว่าไม่มีพระพุทธเจ้าอยู่คอยห้ามหรือชี้ขาด)
เป็นสัญญาณอันตรายต่อพระ ศาสนา

ความที่ท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่สุดในขณะนั้น จึงดำเนินการชักชวนว่า
อย่ากระนั้นเลย พวกเรามารวบรวมคำสั่งสอนของพระศาสดาเก็บไว้ดีกว่า
จะได้ช่วยกันจำ ว่านี่เป็นธรรม นี่เป็นวินัยที่ทรงตรัส
เพื่อให้เป็นหลักแก่ชาวพุทธสืบ ไป


เมื่อภิกษุทั้งหลายเห็นชอบ
และมีมติมอบหมายให้พระมหากัส สปะเลือกคนมาทำหน้าที่ร่วมสังคายนา
เล่ารวบรัดว่า ท่านก็ได้คัดเลือกเฉพาะพระอรหันต์ชนิดที่มีคุณสมบัติเป็นเลิศ
คือทั้ง เชี่ยวชาญปริยัติปฏิบัติ แตกฉานทั้งวิชชาทั้งฤทธิ์
และโดยมากได้รับการ ยกย่องว่าเป็นเลิศทางใดทางหนึ่งจากพระพุทธองค์มาก่อน

ตอนแรกเลือกมา ได้ 499 รูป เว้นว่างไว้ตำแหน่งหนึ่ง
เพื่อรอพระอานนท์สำเร็จพระอรหันต์ เสียก่อน
ชื่อทั้งหมดก็ถูกลงมติโดยที่ประชุมสงฆ์อีกที
ว่ายอมรับร่วม กันเป็นเอกฉันท์ให้เป็นหนึ่งในองค์ร่วมสังคายนาหรือไม่



หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน
งานสังคายนาพระธรรมวินัยที่พระองค์เคย ตรัสก็เริ่มขึ้น
(พระอานนท์เป็นพระอรหันต์แล้ว)

พระมหากัสสปะเป็นองค์ประธานในที่ประชุม และเป็นผู้ซักถาม
พระอานนท์รับหน้าที่ตอบ ส่วนที่เป็นพระธรรมคำตรัสสอน
พระอุบาลีที่พระพุทธองค์ยกให้เป็นเลิศด้าน พระวินัย ก็รับหน้าที่ตอบพระวินัย

ลักษณะจะเป็นทำนองนี้ว่า

พระมหากัสสปะ "สงฆ์ในที่ประชุมถ้าพร้อมแล้วจงฟัง ข้าฯจะขอถามพระอานนท์"
พระอานนท์ "สงฆ์ในที่ประชุมถ้าพร้อมแล้วจงฟัง ข้าฯจะตอบคำถาม"

แล้วคำถามตอบก็เช่น พระสูตรนี้ๆ ทรงตรัสที่ไหนกับใครเมื่อไร
ตรัสว่าอย่างไร บ้าง พระอานนท์ก็ตอบไปทีละคำถาม

ระหว่างนั้น พระอรหันต์ที่เป็นองค์ประชุมที่เหลือทั้งหมด ก็นั่งฟังไปๆ
พอถามตอบกัน เสร็จ องค์ประชุมทั้งหลายไม่มีใครข้องใจ
ก็เป็นอันว่าเรื่องนั้นๆ ผ่าน


พอทำอย่างนี้ก็เสร็จ ก็มาเรียบเรียงกันว่าพระสูตรอันนั้นรวมหมวดกับอันนั้น
แบ่ง เป็นกี่หมวดๆ พระวินัยแยกเป็นโทษหนักหมวดหนึ่ง โทษกลางๆ หมวดหนึ่ง
อะไรทำนองนี้

พอประชุมสังคายนา ที่แปลว่ารวบรวมคำสอน (ไม่ได้แต่งเองหรือแก้คำสอน)
เสร็จแล้ว ต่อไปก็แบ่งหน้าที่กันทรงจำพระธรรมวินัยที่สังคายนาแล้วนี้

เช่นให้ หมู่หนึ่งทรงจำรักษาบทหนึ่ง อีกหมู่หนึ่งทรงจำรักษาอีกบทเป็นต้น
วิธีทรงจำตอนนั้นได้แก่การท่องจำพร้อมกัน หรือคือการสวดพร้อมกันทั้งเช้าเย็น

หมู่ นั้นมีพระภิกษุร้อยรูปพันรูปก็สวดพร้อมกันอย่างนั้นๆ ทุกวันๆ

สมมติ หมู่หนึ่ง หมู่สอง แยกกันอยู่แยกกันสวดคนละเมือง แต่สวดบทเดียวกัน
พอมาพบกันก็สวดพร้อมๆ กัน ทั้งสองหมู่
ถ้าสวดพร้อมเพรียงกันดีแสดงว่าทั้ง สองหมู่จำมาได้เหมือนๆ กัน
พระธรรมวินัยก็ถูกรักษาส่งต่อกันมารุ่นต่อ รุ่นด้วยวิธีนี้
-------------------------------------------------

ต่อมาภายหลัง มีการบันทึกลงหนังสือบ้างอะไรบ้าง
การสวดท่องจำจึงลดความ สำคัญไป

ต่อมาภายหลัง การสังคายนาจึงเป็นการเอาพระไตรปิฎกของแต่ละประเทศ
มาเทียบกันที่ละตัวๆ ว่าเหมือนกันหรือต่างกันแค่ไหน
เป็นที่น่ายินดีว่า แม้ต่างฝ่ายต่างรักษา แต่ข้อความก็ตรงกันเป๊ะแทบร้อยเปอร์เซนต์






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น